วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

      โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ


      โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกรอบงานบูรณาการภายใต้เครือข่ายดิจิตอลทำงานอยู่ โครงสร้างพื้นฐานนี้ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์จัดการฐานข้อมูลและระบบการกำกับดูแลในเทคโนโลยีสารสนเทศและบนอินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานเป็นฮาร์ดแวร์ทางกายภาพที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายตัวและผู้ใช้หลายคน โครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยสื่อการส่งผ่านรวมทั้งสายโทรศัพท์สายเคเบิลทีวีดาวเทียมและเสาอากาศ และยังมีเราท์เตอร์หลายตัวที่ใช้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเทคโนโลยีการส่งผ่านทั้งหลายที่แตกต่างกันในการใช้งานบางครั้ง โครงสร้างพื้นฐานหมายถึงการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ และไม่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบางคน โครงสร้างพื้นฐานถูกมองว่าเป็นทุกอย่างที่สนับสนุนการไหลและการประมวลผลของข้อมูลบริษัทโครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอินเทอร์เน็ต พวกเขามีอิทธิพลว่าที่ไหนบ้างต้องมีการเชื่อมโยงที่ไหนบ้างที่ข้อมูลจะต้องถูกทำให้สามารถเข้าถึงได้ และ จำนวนข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้และทำได้รวดเร็วได้อย่างไร


ลักษณะสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ

           ความสามารถในการติดต่อได้สองทาง (Interactivity) เป็นลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในมุมมองของเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากเครือข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นการติดต่อแบบทางเดียว เช่น เครือข่ายการแพร่ภาพกระจายเสียง หรือไม่มีศักยภาพหรือความเร็วเพียงพอต่อการประยุกต์ใช้แบบติดต่อสองทาง เช่น เครือข่าย โทรศัพท์สาธารณะ (public switched telephone network) นอกจากนั้นโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ส่วนใหญ่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารแถบความถี่กว้าง (broadband communication technology) ในระบบดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันได้มีการรวมกับเทคโนโลยีการแพร่ภาพกระจายเสียง และเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาสำหรับการสลับและการส่งสัญญาณ โดยทำให้สามารถส่งสารสนเทศในปริมาณมากแต่เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งต่างจากเครือข่ายที่มีอยู่
          ในปัจจุบันที่มีข้อจำกัดในการส่งข้อมูลแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ แต่เริ่มมีพัฒนาการมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เช่น โครงการ RACEprogramme (R&D in Advanced Communications technologies inEurope) ของ European Commission ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ integrated broadband communication มาใช้และวิวัฒนาการมาเป็นโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) ซึ่งรัฐสมาชิกนำมาให้บริการภายในสหภาพภายในปี 1995 ในประเทศฝรั่งเศสในช่วงต้นทศวรรษ 1980 มีวิสัยทัศน์ในเรื่องของสังคมสารสนเทศ โดยมีโครงการ Plan Cable ซึ่งเป็นโครงการระยะสั้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในยุคแรกๆ นั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก เทคโนโลยีชนิดนี้เป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ประกอบกับกลไกตลาดที่มีอยู่ขณะนั้นยังไม่เหมาะต่อการแสวงประโยชน์จา เทคโนโลยีชนิดนี้ หรือแม้แต่ในภาคเอกชนเองก็ได้มีโครงการทดลองหลายโครงการในประเทศกลุ่ม OECD ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงพาณิชย์ เพราะบางโครงการยังไม่สมบูรณ์พอในขณะที่บางโครงการผู้บริโภคไม่มีการตอบรับ มากนักอันเนื่องมาจากราคาที่สูงเกินไป แต่อย่างไรก็ตามโครงการเหล่านั้นก็มีการให้บริการเช่นเดียวกับบริการที่ เริ่มเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน เช่น home-banking การเรียนทางไกล หรือ video-on-demand เป็นต้น


โครงสร้างระบบสารสนเทศในปัจจุบัน


1. โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายใน เช่น ด้านอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และโครงข่ายด้าน ICT ต้องพิจารณาในส่วนต่างๆ คือ

  -  อุปกรณ์พื้นฐาน ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่อง Server เครื่องพิมพ์ เครื่องควบคุมการสื่อสารข้อมูล รวมทั้งระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมปฏิบัติงาน ระบบบริหารฐานข้อมูล และอื่น ๆ
 -  ระบบไอทีที่บริการให้ใช้ร่วมกันทั้งองค์กร (Shared IT Services) เป็นการนำกลุ่มอุปกรณ์พื้นฐานมาจัดทำให้เป็นรูประบบที่สามารถบริการได้ เช่น ระบบฐานข้อมูลลูกค้า หรือฐานข้อมูลพนักงานที่แบ่งกันใช้ได้ หรือระบบอินทราเน็ตที่ให้พนักงานใช้บริการสื่อสารและค้นหาข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กร เป็นการเพิ่มระบบซอฟต์แวร์พื้นฐาน ทำให้อุปกรณ์พื้นฐานให้บริการไอทีที่ใช้ร่วมกันได้
-  ระบบงานที่ให้บริการด้วยงานมาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ทั้งองค์กร เช่น ระบบบัญชี ระบบบริหารบุคลากร ระบบบริหารงบประมาณ เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องใช้ ระบบงานเหล่านี้ จัดเป็นระบบงานของส่วนกลางที่ให้ใช้ร่วมกัน (Shared and Standard IT Applications) เป็นการเพิ่มชั้นแอปพลิเคชัน เพื่อทำงานเฉพาะทางขององค์กร


2. โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายนอก เช่นสถานภาพด้านโครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารภายนอกบริษัท

3. สถานภาพด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการประเมินสภาพแวดล้อมทางด้านไอทีที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น
  •ประเมินสภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
  •พิจารณากลยุทธ์นโยบายปัจจุบันและอดีต
  •การจัดองค์กรของแผนกไอทีและกระบวนการทำงาน
  •สินทรัพย์ ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  •วิธีการในการพัฒนาระบบและฝึกอบรม

4. สถานภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งต้องพิจารณาโดยแบ่งเป็นพนักงานในระดับ

  •ระดับผู้บริหาร
  •ระดับผู้ปฏิบัติงาน


5. สถานภาพบุคลากรว่ามีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาน้อยเพียงใดโดยอาจพิจารณาตามหัวข้อ เช่น
  •ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์
  •ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล
  •ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Internet
  การใช้งานซอฟต์แวร์พื้นฐาน
  •การใช้งานซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 5 โทรคมนาคมและระบบเครื่อข่าย

ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล  และโทรคมนาคม           การสื่อสาร (Communication) หมายถึงการติดต่อระหว่างม...