วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 5 โทรคมนาคมและระบบเครื่อข่าย



ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล 

และโทรคมนาคม





          การสื่อสาร (Communication) หมายถึงการติดต่อระหว่างมนุษย์โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอหรือแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนความคิดเห็นให้รับรู้เรื่องราวร่วมกันและเกิดการตอบสนองระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร โดยอาศัยสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร
          สื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึง การส่งหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) แต่ข้อมูลที่ส่งถึงกันนั้นจะเป็นเพียงข้อมูล (Data) เท่านั้นไม่รวมเสียงพูด (Voice)
         โทรคมนาคม (Telecommunication)  หมายถึง การติดต่อสื่อสารระหว่างกันในระยะทางไกล ๆ โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารเหมือนกับการสื่อสารข้อมูล แต่สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล (Data) และเสียงพูด (Voice)

1. แนวโน้มด้านอุตสาหกรรมการสื่อสาร (Industry Trends)

         เมื่อ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมในหลายๆประเทศ โดยได้เปลี่ยนจากการควบคุมดูแลของรัฐเพียงเดียว มาเป็นการแข่งขันการให้บริการระหว่างบริษัทผู้ให้บริการหลาย ๆ รายซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้ได้เตรียมทางเลือกไว้หลาย ๆ ทางเพื่อให้องค์กร บริษัทเอกชน และผู้บริโภคทั่วไปได้เลือกใช้บริการทางการสื่อสารตั้งแต่โทรศัพท์ภายใน ประเทศไปจนถึงการสือสารผ่านดาวเทียม เคเบิลทีวี โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการใช้อินเตอร์เน็ต
         การเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเตอร์และ WWW (World Wide Web) ได้ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ บริการและผู้ให้บริการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมากมาย เพื่อสนองตอบต่อการเติบโตดังกล่าวบริษัทเอกชนหรือองค์กรต่างๆ จึงได้เพิ่ม ปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) มากขึ้นดังนั้นการพบปะสนทนาเพื่อนำเสนอบริการและฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ ์แก่บริษัทที่ต้องการใช้การสื่อสารโทรคมนาคมนี้จึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

2.แนวโน้มด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร (Technology Trends)
         เนื่องจาก การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้เกิดแรงผลักด้นในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น เช่น เว็บบราวเซอร์เครื่องมือในการเขียนภาษา HTML เพื่อสร้างเว็บเพจ ซอฟแวร์เพื่อการจัดการเครือข่าย ไฟร์วอลล์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ในแอปพลิเคชั่นบนเครือข่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอปพลิเคชั่นสำหรับE-commerce และการทำงานร่วมกัน เพื่อการเติบโตขององค์กรโดยแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่าน ี้ได้มุ่งไปสู่การสร้างเครือข่ายไคลเอ็นท์/เซิร์ฟเวอร์บนพื้นฐานของ สถาปัตยกรรมระบบเปิด (Open System)
         ระบบเปิด (Open System) คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชั่น และเครือข่ายที่เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถ เชื่อมต่อและเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของพวกเขาเอง โดยระบบเปิดนี้จะต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อที่ดี กล่าวคือเป็นความสามารถของระบบที่ประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย  เพื่อให้เข้าถึงและใช้งานสารสนเทศและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายระบบเปิดบางระบบนั้นอาจจะมีความสามารถในการทำงานร่วมกันบนเครือข่าย ได้นั้น คือผู้ใช้งานสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่แตกต่างกันหลาย ๆ แอปพลิเคชั่นให้สำเร็จโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และฐานข้อมูลที่แตกต่างกันบนเครือข่ายที่ต่างกันได้ บ่อยครั้งที่มีการนำซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “มิดเดิลแวร์ (Middle)” มาใช้เพื่อช่วยให้ระบบที่แตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้
         แนว โน้มการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงการใช้สื่อกลางในการส่งข้อมูลที่เป็นสายทองแดง และระบบการสื่อสารด้วยไมโครเวฟบนพื้นดินมาเป็นการใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง เซล ลูลาร์ดาวเทียมสื่อสารและเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบอื่น ๆ โดยการใช้เคเบิลใยแก้วนำแสงจะทำให้ส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ด้วยความเร็วแสง ไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวน และใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าสายสัญญาณแบบอื่น การใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงที่มีปริมาณมหาศาล ข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว การใช้เซลลูลาร์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ จะอำนวยความสะดวกต่อการใช้อุปกรณ์พกพาแบบต่าง ๆ  ให้สามารถสื่อสารกับเครือข่ายทั่วโลกได้


3.แนวโน้มด้านแอปพลิเคชั่นธุรกิจ (Business Application Trends)
         การ เปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสารดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในแวดวงธุรกิจที่ใช้การติดต่อสื่อสาร โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์การให้บริการอินเตอร์เน็ต และระบบเปิดนอกจากนี้จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ต WWW อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต  ทำให้มีแอปพลิเคชั่นที่ทำให้สามารถทำงานร่วมกันระหว่าง 2 บริษัทหรือมากกว่า
รวม ทั้งแอปพลิเคชั่นที่ภายในองค์กร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานการจัดการและการวางแผนกลยุทธ์ ดังนั้นเครือข่ายโทรคมนาคม จึงมีบทบาทและมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมา


องค์ประกอบคอมพื้นฐานพิวเตอร์ในองค์กร 
                 การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้
                - คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย  2  เครื่อง
                - เน็ตเวิร์ดการ์ด  หรือ  NIC ( Network  Interface  Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องที่ เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
                - สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล  เช่น  สายสัญญาณ  ส่วนสายสัญญาณที่นิยมที่ใช้กันในเครือข่ายก็เช่น  สายโคแอ็กเชียล  สายคู่เกลียวบิด  และสายใยแก้วนำแสง  เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ เครือข่าย  เช่น  ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น
                - โปรโตคอล  ( Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้  ภาษา” หรือใช้โปรโตคอลเดียวกันเช่น  OSI,  TCP/IP,  IPX/SPX เป็นต้น
                - ระบบปฏิบัติการเครือข่าย  หรือ NOS (Network Operating System)ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวคอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน

ชนิดของสัญญาญข้อมูล (Signal Types)


ความแตกต่างระหว่างสััญญาณ Analog และ Digital


          สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ของ ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) โดยสัญญาณจะมีขนาดไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ สัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป ยกตัวอย่างเช่น การที่เราโยน ก้อนหินลงน้ำ บนผิวน้ำเราจะเห็นว่า น้ำจะมีการเคลื่อนตัวเป็นคลื่น กระจายออกเป็นวงกลมรอบจุดที่หินจม ระดับคลื่นจะสังเกตุได้ว่าเริ่มจากจุดกลางแล้วขึ้นสูง แล้วกลับมาที่จุดกลางแล้วลงต่ำ แล้วกลับมาที่จุดกลาง เป็นลักษณะนี้ติดต่อกันไป แต่ละครั้งของวงรอบเราเรียกว่า 1 Cycle โดยการเคลื่อนที่ของสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) นี้ จะมีระยะทางและเวลาเป็นตัวกำหนดด้วย จึงทำให้มีผลต่อการส่งสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) ส่วนใหญ่จึงสามารถถูกรบกวนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือจากตัวของระบบอุปกรณ์เอง เพราะสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะเป็นสัญญาณจริง และเมื่อถูกรบกวนก็อาจ จะทำให้คลื่นสัญญาณมีการเปลี่ยนไป จึงทำให้ผู้รับหรือปลายทางนั้นมีการแปลความหมายผิดพลาดได้ เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น 

          สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและ ติดต่อสื่อสารกัน หรือกล่าวได้ว่าสัญญาณดิจิตอลก็คือการที่เรานำเอาสัญญาณ Analog (อนาล็อก) มา แปลงให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลข (0,1) โดยการแปลงสัญญาณนี้ต้องอาศัยวงจรประเภทหน่ึงที่เรียกว่า A To D (A/D) หรือ Analog To Digital converter โดยวงจร A/D หลังจากนั้น ก็จะได้สัญญาณ Digital ออกมาเป็นสัญญาณในรูปแบบของตัวเลข (0,1) นั่นเอง โดยจะเป็นสัญญาณที่เกิดจากแรงดันของ ไฟฟ้าจะมีอยู่ 2 ค่าคือ 0 = Min และ 1 = Max โดยค่า Min จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 0 โวลต์ และ Max จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 5 โวลต์ ดังนั้นสัญญาณชนิดนี้มนุษย์เรา จึงไม่สามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้เลย และเมื่อได้เป็นสัญญาณ Digital ออกมาแล้ว จึงทำการส่งข้อมูลไปยัง ผู้รับหรือปลายทาง ทางฝั่งผู้รับหรือปลายทางจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณจาก Digital ให้กลับเป็น Analog อีกครั้ง โดยผ่านตัวแปลง คือ D To A (D/A) หรือ Digital To Analog converter



กระบวนการสื่อสาร

          กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 5 โทรคมนาคมและระบบเครื่อข่าย

ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล  และโทรคมนาคม           การสื่อสาร (Communication) หมายถึงการติดต่อระหว่างม...