วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 6 โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

(E-Commerce System)


  โครงสร้างพื้นฐานธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีความหมายถึงการผสมผสานกันของ ฮาร์ดแวร์รวมไปถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่าง ๆ เพื่อส่งถึงกลุ่มผู้ทำงานภายในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงหุ้นส่วนและลูกค้าด้วย นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานยังถูกพิจารณารวมไปถึงข้อมูลและเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านโปรแกรมประยุกต์ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยสิ่งสำคัญที่ใช้ในการตัดสินการจัดการโครงสร้างพื้นฐานคือ องค์ประกอบใดควรถูกติดตั้งอยู่ภายในบริษัท และองค์ประกอบใดถูกจัดการอยู่ภายนอกโดยโปรแกรมประยุกต์อื่น รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเครือข่ายยภายนอกบริษัท การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ต้องยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีความจำเป็นต่อประสิทธิภาพในการแข่งขันของธุรกิจ 




1. หน้าร้าน ( Storefront )  คือส่วนแสดงข้อมูลรายการสินค้าทั้งหมดของร้าน รวมทั้งระบบค้นหาข้อมูลรายการสินค้าของร้านค้า ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นความประทับใจครั้งแรกของลูกค้า
2. ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ ( Shopping Cart System ) เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อสิ้นค้าของร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสินค้า จะทำการคลิกไปบนสินค้าที่ต้องการ สินค้าจะนำมารวมกันในตะกร้าหรือรถเข็ญสินค้า เพื่อทำการสั่งซื้อ
3. ระบบชำระเงิน ( Payment System )  มีวิธีการชำระเงินได้หลายรูปแบบ เช่นโอนเงินเข้าบัญชี การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การชำระเงินควรมีหลายทางเลือกสำหรับลูกค้า และสิ่งที่สำคัญคือความปลอดภัย และรักษาความลับของลูกค้า
4. ระบบสมาชิก ( Member System ) ข้อมูลสมาชิกใช้ในการจัดส่งสินค้าตามที่อยู่ แจ้งสินค้าใหม่ หรือโปรโมชั่นพิเศษ ข้อมูลสมาชิกจัดเป็นข้อมูลส่วนตัว (private date) 
5. ระบบขนส่ง ( Transportation ) เป็นระบบจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า โดยต้องมีตัวเลือกหลายทางให้ลูกค้า ที่สำคัญลูกค้าควรจะสามารถติดตามสินค้าที่ได้ทำการชำระเงินแล้วได้ เช่นระบบไปรษณีย์ EMS ใช้หมายเลขของพัสดุที่มีการลงทะเบียนเป็นต้น
6. ระบบติดตามคำสั่งซื้อ ( Order Tracking system ) เป็นระบบติดตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เมื่อเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง


โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี(Information Technology Infrastructure)

  โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในเอกสารประกอบการสอนฉบับนี้จะพิจารณาที่ฮาร์ดแวร์และ ซอฟท์แวร์ที่เลือกใช้ให้เหมาะสมในการดําเนินธุรกิจ e-Commerce และเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้าจะทํางานได้ นั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่ 1 ตัวเครื่องหรือที่เรียกกันว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซึ่งประกอบไปด้วย จอภาพ ชุดซีพียู คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ และแผ่นดิสก์ ส่วนที่ 2 เรียกว่า ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่ไว้ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานตามที่เราต้องการ ส่วน สุดท้าย เรียกว่า พีเพิลแวร์ (Peopleware) ซึ่งส่วนนี้จะหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ไม่ ว่าจะเป็นพนักงานป้อนข้อมูล นักเขียนโปรแกรม หรือนักวิเคราะห์ออกแบบระบบงานต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ ทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นส่วนประกอบที่สําคัญของ Computer ถ้าขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้ว Computer ก็ไม่ สามารถใช้งานได้เลย ดังนั้นหัวข้อนี้จะอธิบายองค์ประกอบพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดังต่อไปนี้ 

              1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

                                          1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทําหน้าที่ในการรับข้อมูลที่บันทึกไว้ในสื่อต่าง ๆ เข้าไปเก็บ ไว้ในหน่วยความจํา สําหรับอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูล ได้แก่ Keyboard, Mouse, Touch Screen และ Scanner เป็นต้น

                                         1.2 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit) ทําหน้าที่ในการคํานวณและ ประมวลผล ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ สําหรับในหน่วยนี้มีหน้าที่ 2 อย่างคือ ควบคุมการทํางาน คํานวณและตรรกะ อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่นี้ได้แก่ CPU

                                            1.3 หน่วยความจํา (Memory Unit) ทําหน้าที่เก็บข้อมูล และคําสั่งต่าง ๆ ที่ส่งมาจากหน่วย รับข้อมูลหรือส่งมาจากหน่วยประมวลผลกลางมาเก็บไว้ เพื่อรอการเรียกใช้หรือรอการ ประมวลผลภายหลัง สําหรับหน่วยความจําแบ่งเป็นหน่วยความจําหลัก ซึ่งในที่นี้คือ ROM กับ RAM และหน่วยความจําสํารอง ซึ่งได้แก่ เทปแม่เหล็ก,Disk, Tape เป็นต้น

                                           1.4 หน่วยแสดงผลลัพธ์ ( Output Unit) ทําหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้มาจากกร ประมวลผล อุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยแสดงผลลัพธ์ ได้แก่ Monitor, Printer และ Plotter เป็นต้น 

             2. ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนที่ทําหน้าที่เป็นคําสั่งที่ใช้ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจ เรียกว่า “ โปรแกรม ” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคําสั่งหรือชุดคําสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางาน เรา ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทําอะไรก็เขียนเป็นคําสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทําอย่าง ละเอียดและครบถ้วน ผู้ที่เขียนคําสั่งหรือโปรแกรมจะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สําหรับการ เขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนําไปใช้ใน งานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคํานวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็น ต้น ซอฟต์แวร์ยังสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ตามหน้าที่การใช้งานได

                                         2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software) ซอฟต์แวร์ระบบ หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทํางานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอํานวย ความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทํางานดังนี้ - OS (Operating System)คือระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมที่ทํางานเป็นตัวกลางระหว่าง ผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถ ปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออํานวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - Translation Programคือ โปรแกรมแปลภาษาต่างๆ ให้เป็นภาษาเครื่องซึ่งเป็นภาษาที่ เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคําสั่งได้ โปรแกรแปลภาษาน

                              2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

                                           2.3 User Program คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทาง คอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC , COBOL , PSDCSL , C , ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า , โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคํานวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น

                                     2.4 Package Program คือ โปรแกรมสําเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมา โดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนําไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทําเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

แบ่งออกเป็น

1.       กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร Profit Organization

-          Business – to – Business (B2B)
คือรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆ          มีมูลค่าการซื้อขาย  แต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก เป็นการค้าส่ง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C หรือในรูปของ Bill of Exchangeอื่นๆ
-          Business – to – Customer (B2C)
คือรูปแบบการจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ค้ากับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการค้าปลีก
-          Business – to – Business – to – Customer (B2B2C)
หมายถึง การเชื่อมต่อ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน นั่นก็คือ เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่ธุรกิจได้ขายช่วงต่อไปยังภาคธุรกิจด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นบริษัทในเครือหรือกลุ่มธุรกิจเดียวกันแต่ในด้านการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ก็ยังคงส่งมอบไปยังผู้บริโภคโดยตรงในแต่ละราย หรือองค์กรธุรกิจขายให้องค์กรธุรกิจด้วยกัน แต่องค์กรจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอีกทีหนึ่ง
-          Customer – to – Customer (C2C)
เป็นรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่นการประกาศขายสินค้าใช้แล้ว
-          Customer – to – Business (C2B)
หมายถึง เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้าและมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า จากนั้นผู้ประกอบการก็จะนำราคาที่ลูกค้าเสนอมาให้กับผู้ขายปัจจัยการผลิตพิจารณาว่าสามารถจำหน่ายหรือขายได้ในราคานี้หรือไม่ หรือการที่ลูกค้าสามารถระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไป แล้วองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า
เป็นรูปแบบการค้าที่ใกล้ตัวมากๆ จนเรานึกไม่ถึง เป็นรูปแบบการค้าที่ Consumer หรือผู้ใช้นำสินค้ามา Reviews หรือวิเคราะห์สินค้า จนเว็บเราดังมีคนสนใจเข้ามาชมมาก เราก็จะทำธุรกิจ (Business) กับ Amazon โดยการเอาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับที่เรา Reviews มาขาย ซึ่งถ้าขายได้ Amazonก็จะแบ่งตังให้กับเรา หรือแม้แต่ Adsense ก็เป็นธุรกิจแบบ C2B คือ Consumer ทำธุรกิจกับ Businessโดยนำเสนอสิ่งที่ Business ต้องการ ซึ่งในกรณี Adsense ที่เขาต้องการก็คือเนื้อหาเว็บที่ดีมีประโยชน์ของ Consumer ที่ทาง Google จะเอาไปขายต่อให้กับพวกที่ต้องการโฆษณาบนเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสินค้าตนเอง หรือพวกที่ทำ Adwords ไงครับ
-          Mobile Commerce
หรือ M-Commerce หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อและขายสินค้าต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีความสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce
ขอบเขตของ M-Commerce จะครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ B2C และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง B2B

2.       กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร Non-Profit Organization

-          Intrabusiness (Organization) E-Commerce
อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-          การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
   การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
   การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
-          Business – to – Employee (B2E)
การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับพนักงาน (Business-To-Employee–B2E) มุ่งเน้นการให้บริการแก่พนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ กิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างผู้ประกอบการ องค์กร กับพนักงาน โดยอาศัยระบบเครือข่าย
-           Government – to – Citizen (G2C)
การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน (Government-To-Citizen–G2C) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนโดยไม่หวังผลกำไร แต่เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น การยื่นแบบชำระภาษีของกรมสรรพากร
-          Collaborative Commerce (C-Commerce) เช่น เครือซีเมนต์ไทย
ซี คอมเมิร์ซ (c-Commerce) หรือ Collaborative Commerce เป็นที่รู้จักกันในต่างประเทศได้เป็นเวลานานพอควรแล้วภายหลังจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากได้สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) แก่บริษัทที่นำไปใช้อย่างเห็นได้ชัด อุตสาหกรรมที่ริเริ่มใช้ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน และในปัจจุบันได้แพร่ขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง เครื่องจักร รวมไปถึงอุตสาหกรรมบริการต่างๆ
สำหรับในประเทศไทยซี-คอมเมิร์ซ เริ่มมีการกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากการตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสู้กับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดโลก และตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ Wasserstein Perella Securities, Inc. ได้ออกรายงานการศึกษาว่า นับจากนี้ไปถึง ปีข้างหน้า บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งสามของสหรัฐอเมริกา จะสามารถ
-          Exchange – to – Exchange (E2E)
การทำธุรกรรมด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange-To-Exchange–E2E) เป็นช่องทางสำหรับใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน
-          E-Learning
e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 


E-Commerce Business Model

            แบบจำลองทางธุรกิจหมายถึงวิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ







ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก



             ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิกในการศึกษาได้แก่ AOL (ธุรกิจ ISP), Wall Street Journal(หนังสือพิมพ์), JobsDB.com (ข้อมูลตลาดงาน)และ Business Online (ข้อมูลบริษัท) ธุรกิจในกลุ่มนี้หลายรายเป็นธุรกิจที่ได้กำไรแล้วเนื่องจากรายได้จากค่าสมาชิกเป็นรายได้ที่มีความมั่นคงกว่ารายได้จากแหล่งอื่นเช่น รายได้จากการโฆษณา หรือค่านายหน้า อย่างไรก็ตาม ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือการมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

                ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerce อื่น ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล), BBBOnline (ธุรกิจรับรองการประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐาน), Siamguru (บริการเสิร์ชเอนจิ้น)และ FedEx (บริการจัดส่งพัสดุ) ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาดE-Commerce โ ดยรวมกล่าวคือหากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขยายตัวและมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น 



ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์


                 ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจE-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ใ นกรณีศึกษาได้แก่Amazon (หนังสือ)7dream (ของชำ), EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย)1-800-Flowers (ดอกไม้),Webvan (ของชำ), Tony Stone Image (รูปภาพ)และ Thaigem (อัญมณี) รายได้หลักของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาจากการจำหน่ายสินค้า ในช่วงแรกผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ มักคาดหวังว่า การประกอบการโดยไม่ต้องมีร้านค้าทางกายภาพจะช่วยให้ตนมีต้นทุนที่ต่ำ และสามารถขายสินค้าให้แก่ ลูกค้าในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาต่อมาเราจะพบว่า ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า เราจึงพบว่าธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้างร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่เรียกว่า Click-and-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม


 ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา

               ในช่วงหลังธุรกิจ E-Commerce ที่หวังหารายได้จากการโฆษณาซบเซาลงไปมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดดังกล่าวทำได้ง่าย ทำให้จำนวนพื้นที่โฆษณาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง และมีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการแทบทุกราย นอกจากนี้ การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุนสูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกันในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 5 โทรคมนาคมและระบบเครื่อข่าย

ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูล  และโทรคมนาคม           การสื่อสาร (Communication) หมายถึงการติดต่อระหว่างม...